Monday, December 14, 2009

รพ.รามาฯใช้ฟิลม์เอ็กซเรย์ทำเกราะกันกระสุน

.

รพ.รามาธิบดีได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะวิจัย สบ.3 กองวิทยาการณ์จังหวัดตาก เปิดตัวการสร้างเสื้อเกราะกันกระสุนหญิงซึ่งทำจากฟิลม์เอ็กซเรย์เหลือใช้ 20 ตัวแรกของโลก เพื่อให้เจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาดินแดนหญิงใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ใช้กัน

คุณสมบัติของฟิลม์เอ็กซเรย์

- ยืดหยุ่น
- ทนความร้อน
- ลดแรงกระแทก

ด้วยคุณสมบัติขั้นต้นและจากนั้นติดเข้าด้วยกันด้วยลิคิวลาเมอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกาวที่มีความคงทนมาปิดฟิล์มที่เรียงเป็นชั้นให้สนิท และใช้เคลือบฟิล์ม จากนั้นจึงหาตัวยึดติดแผ่นฟิล์มที่ซ้อนกันให้แน่น ก่อนนำมาเย็บใส่กับเสื้อกั๊กใช้สวมใส่เป็นเกาะเก็บกระสุน(ดูดกระสุน) ไม่ใช่กันกระสุนเข้า

ข้อมูลเกราะกันกระสุน

- ทำจากฟิลม์เอ็กซเรย์ 44 แผ่น (หน้า 22 หลัง 22)
- น้ำหนัก 4 kg.
- ทำหน้าที่ได้ดีกว่าเกราะเหล็กที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
- ใช้ป้องกันกระสุนปืนพกทั่วไป คือ จุด 22, จุด 38, 11 มม., 357 แม็คนัม

โรงพยาบาลรามาฯได้เป็นต้นแบบมอบฟิล์ม เอ็กซเรย์ที่เหลือใช้จำนวน 43,200 กิโลกรัม หรือ 43 ตัน ราคากว่า 2,000,000 บาท มอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจคณะวิจัย สบ.3 กองวิทยาการจังหวัดตาก นำไปผลิตเป็นเสื้อเกราะกันกระสุนสำหรับสตรี ซึ่งเป็นอาสาสมัคร เพื่อใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งนี้ราคาต้นทุนของเสื้อเกาะหากทำด้วยฟิล์มเอ็กซเรย์เพียง 6,000 บาท มีอายุการใช้งานถึง 10 ปี ขณะที่ต่างประเทศมีต้นทุนการทำเสื้อเกราะในราคาสูง ตกตัวละ 30,000 -50,000 บาท



จึงใคร่ขอประกาศเชิญชวนทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ร่วมช่วยเหลืออาสาสมัครหญิงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ด้วยการบริจาคฟิล์มให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อนำไปผลิตหรือออกเป็นเสื้อ เกราะที่ใช้รักษาความปลอดภัยในการดำรงชีวิต และการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ตอนนี้ผมกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคมาให้ เผื่อมีใครอยากบริจาคเป็นเงินหรืออื่นๆ

No comments:

Post a Comment